Wednesday, September 5, 2018

การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมแบบกลุ่ม


https://seehttpsmalanonech.wordpress.com/2013/01/16/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-group-process/. ได้กล่าวว่า กระบวนการกลุ่มเป็นวิทยาการที่ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มคนเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมของคน ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์และการพัฒนาการทำงานของกลุ่มคนให้มีประสิทธิภาพ

จุดเริ่มต้นของค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ การศึกษากลุ่มคนด้านพลังกลุ่มและผู้ที่ได้เชื่อว่าเป็นบิดา ของกระบวนการกลุ่มก็คือ เคริร์ท  เลวิน (Kurt  Lewin) นักจิตวิทยาสังคมและนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่ประมาณปี ค.ศ 1920 เป็นต้นมา และได้มีผู้นำหลักการของพลังกลุ่มไปใช้ในการพัฒนาพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม การพัฒนาบุคลิกภาพและจุดประสงค์อื่น ๆ วงการ รวมทั้งในวงการศึกษา

1.หลักการและแนวคิดทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม

แนวคิดพื้นฐานของกระบวนการกลุ่มก็คือ แนวคิดในทฤษฎีภาคสนาน ของเคิร์ท  เลวิน ที่กล่าวโดยสรุปไว้ดังนี้

พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากความสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม
โครงสร้างของกลุ่มจะเกิดจากการร่วมกลุ่มของบุคคลที่มีลักษณะแตกต่างกัน และจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของสมาชิกกลุ่ม
การรวมกลุ่มจะเกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่มในด้านการกระทำ ความรู้สึก และความคิด
สมาชิกกลุ่มจะมีการปรับตัวเข้าหากันและจะพยายามช่วยกันทำงานโดยอาศัยความสามารถของแต่ละบุคคลซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานลุล่วงไปได้ตามเป้าหมายของกลุ่ม
2.หลักการเรียนรู้แบบกระบวนการกลุ่ม ที่สำคัญมีดังนี้

1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากแหล่งความรู้ที่หลากหลาย การเรียนรู้ที่เกิดจากการบรรยายเพียงอย่างเดียวไม่พอที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาพฤติกรรม แต่การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมผู้เรียนโดยกระบวนการกลุ่มจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ศักยภาพของแต่ละคนทั้งในด้านความคิด การกระทำและความรู้สึกมาแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

2. การเรียนรู้ควรจะเป็นกระบวนการกลุ่มที่สร้างสรรค์บรรยากาศการทำงานการทำงานกลุ่มที่ให้ผู้เรียนมีอิสระในการแสดงความรู้สึกนึกคิด มีบทบาทในการรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนโดยมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีชีวิตชีวาและช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียน

3.การเรียนรู้ควรเป็นระบวนการที่ผู้เรียนค้นพบด้วยตนเอง การเรียนรู้ด้วยการกระทำกิจกรรมด้วยตนเองจะช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้เนื้อหาวิชาหรือสาระจากการมีส่วนร่วมในกิจกรรม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความใจอย่างลึกซึ้ง จดจำได้ดี อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมของตนได้รวมทั้งสามารถนำไปสู่การนำไปพัฒนาบุคลิกภาพทุกด้านของผู้เรียน

4. การเรียนรู้กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการเยนรู้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ที่เป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตทุกด้าน ดังนั้นถ้าผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีระและมีขั้นตอนจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้หรือตอบคำถามการรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. หลักการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

การเรียนแบบกระบวนการกลุ่ม คือ ประสบการณ์ทางการเรียนรู้ที่นักเรียนได้รับจากการลงมือร่วมปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม กลุ่มจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของแต่ละคนแต่ละคนในกลุ่มมีอิทธิพลและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน หลักการสอนโดยวิธีกระบวนการกลุ่ม มีหลักการเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน สรุปได้ดังนี้ ( คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2540 )

1.เป็นการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนโดยให้ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมมากที่สุด

2.เป็นการเรียนการสอน ที่เน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด กลุ่มจะเป็นแหล่งความรู้สำคัญที่จะฝึกให้ผู้เกิดความรู้ความใจ และสามารถปรับตัวและเข้ากับผู้อื่นได้

3.เป็นการสอนที่ยึดหลักการค้นพบและสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตัวเองของนักเรียนเอง โดยครูเป็นผู้จัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนพยายามค้นหา และพบคำตอบด้วยตนเอง

4.เป็นการสอนที่ให้ความสำคัญของกระบวนการเรียนรู้ ว่าเป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการแสวงหาความรู้ และคำตอบต่าง ๆ ครูจะต้องให้ความสำคัญของกระบวนการต่าง ๆ ในการแสวงหาคำตอบ

https://yupawanthowmuang.wordpress.com/about/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1/. ได้กล่าวว่า รูปแบบการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม รูปแบบการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม (คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2540 ) มีขั้นตอนดังนี้

1.ตั้งจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ทั้งจุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม

2.การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยเน้นให้ผู้เรียนลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเองและมีการเพื่อทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อให้มีประสบการณ์ในการทำงานกลุ่ม ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

2.1. ขั้นนำ เป็นการสร้างบรรยากาศและสมาธิของผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนการสอน การจัดสถานที่ การแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อย แนะนำวิธีดำเนินการสอน กติกาหรือกฎเกณฑ์การทำงาน ระยะเวลาการทำงาน

2.2. ขั้นสอน เป็นขั้นที่ครูลงมือสอนโดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ตรง โดยที่กิจกรรมต่าง ๆ จะต้องคัดเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องในบทเรียน เช่นกิจกรรม เกมและเพลง บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง การอภิปรายกลุ่ม เป็นต้น

2.3. ขั้นวิเคราะห์ เมื่อดำเนินการจัดประสบการณ์เรียนรู้แล้ว จะให้นักเรียนวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมต่าง ๆ ความสัมพันธ์กันในกลุ่ม ตลอดจนความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน โดยวิเคราะห์ประสบการณ์ที่ได้รับจาการทำงานกลุ่มให้คนอื่นได้รับรู้ เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ของกันแนะกัน ขั้นวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น และมองเห็นปัญหาและวิธีการทำงานที่เหมาะสม เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการทำงาน เป็นการถ่ายโอนประสบการณ์การเรียนที่ดี จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถค้นแนวคิดที่ต้องการด้วยตนเอง เป็นการขยายประสบการณ์การเรียนรู้ให้ถูกต้องเหมาะสม

2.4. ขั้นสรุปและนำหลักการไปประยุกต์ใช้ นักเรียนสรุป รวบรวมความคิดให้เป็นหมวดหมู่ โดยครูกระตุ้นให้แนวทางและหาข้อสรุป จากนั้นนำข้อสรุปที่ค้นพบจากเนื้อหาวิชาที่เรียนไปประยุกต์ใช้ให้เข้ากับตนเองและนำหลักการที่ได้ไปใช้เพื่อการปรับปรุงตนเอง ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับคนอื่นประยุกต์เพื่อแก้ปัญหาและสร้างสรรค์สิ่งที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และดำรงชีวิตประจำวันเช่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ เกิดความเห็นอกเห็นใจ เคารพสิทธิของผู้อื่น แก้ปัญหา ประดิษฐ์สิ่งใหม่ เป็นต้น

2.5. ขั้นประเมินผล เป็นการประเมินผลว่า ผู้เรียนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายมากน้อยเพียงใด โดยจะประเมินทั้งด้านเนื้อหาวิชาและด้านกลุ่มมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่ ประเมินด้านมนุษย์สัมพันธ์ ผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม เช่น ผลการทำงาน ความสามัคคี คุณธรรมหรือค่านิยมของกลุ่ม ประเมินความสัมพันธ์ในกลุ่ม จากการให้สมาชิกติชมหรือวิจารณ์แก่กันโดยปราศจากอคติ จะทำให้ผู้เรียนสามารถประเมินตนเองได้และจะทำผู้สอนเข้าใจนักเรียนได้ อันจะทำให้ผู้เรียนผู้สอนเข้าใจปัญหาซึ่งกันและกันอันจะเป็นหนทางในการนำไปพิจารณาแก้ปัญหาและจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่นักเรียน

5. ขนาดของกลุ่มและการแบ่งกลุ่ม

การแบ่งกลุ่มเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติงานร่วมกันนั้น ผู้สอนอาจจะแบ่งกลุ่มโดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์การจัดการเรียนการสอน (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2534 : 230) เช่น

1. แบ่งกลุ่มตามเพศ ใช้ในกรณีครุมีวัตถุประสงค์ที่ชี้เฉพาะลงไป เช่น ต้องการสำรวจความระหว่างเพศหญิงและชาย ในด้านต่าง ๆ เช่น ทัศนคติ ค่านิยม ฯลฯ

2. แบ่งตามความสามารถ ใช้ในกรณีที่ครูมีภาระงานมอบหมายให้แต่ละกลุ่มแตกต่างไปตามความสามรถ หรือต้องการศึกษาความแตกต่างในการทำงานระหว่างกลุ่มที่มีความสามารถสูงและต่ำ

3. แบ่งตามความถนัด โดยแบ่งกลุ่มที่มีความถนัดเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกัน

4. แบ่งกลุ่มตามความสมัครใจ โดยให้สมาชิกเลือกเข้ากลุ่มดับคนที่ตนเองพอใจ ซึ่งครูทำได้แต่ไม่ควรใช้บ่อยนักเพราะจะทำให้นักเรียนขาดประสบการณ์ในการทำงานกับบุคคลที่หลายหลาย

5. แบ่งกลุ่มแบบเจาะจง ครูเจาะจงให้เด็กบางคนอยู่ในกลุ่มเดียวกัน เช่น ให้เด็กเรียนเก่งกับเด็กที่เรียนอ่อนเพื่อให้เด็กเรียนเก่งช่วยเด็กที่เรียนอ่อน หรือให้เด็กปรับตัวเข้าหากัน

6. แบ่งกลุ่มโดยการสุ่ม ไม่เป็นการเจาะจงว่าให้ใครอยู่ใครกับใคร

7. แบ่งกลุ่มตามประสบการณ์ คือ การรวมกลุ่มโดยโดยพิจารณาเด็กที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกันมาอยู่ด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการช่วยกันวิเคราะห์หรือแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งโดยเฉพาะ

7. วิธีการสอนที่สอดคล้องับหลักการการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

1. การระดมความคิด เป็นการรวมกลุ่มที่ประกอบด้วยสมาชิก 4 -5 คน และให้ทุกคนแสวงความคิดเห็นอย่างทั่วถึง เพื่อรวบรวมความคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้ได้หลายแง่มุม ทุกความคิดได้รับการยอมรับโดยไม่มีการโต้แย้งกน แล้วนำความคิดทั้งมวลมาผสานกัน

2. ผู้สอนสร้างสถานการณ์สมมติขึ้นโดยให้ผู้เรียนตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีการสรุปผลในลักษณะของการแพ้การชนะ วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้วิเคราะห์ความรู้สึกนึกคิด และพฤติกรรมต่าง ๆ วิธีการสอนนี้จะช่วยให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนและเกิดความสนุกสนาน

3. บทบาทสมมติ เป็นวิธีการสอนที่มีการกำหนดบทบาทของผู้เรียนในสถานการณ์ที่สมมติขึ้นมาโดยให้ผู้เรียนสวมบทบาทและแสดงออกโดยใช้บุคลิกภาพประสบการณ์และความรู้สึกนึกคิดของตนเป็นหลัก วิธีการสอนนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีโอกาสศึกษาวิเคราะห์ความรู้สึกและพฤติกรรมของตนอย่างลึกซึ้ง ทั้งยังช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีชีวิตชีวา

4. สถานการณ์จำลอง เป็นวิธีกาสอนโดยการจำลองสถานการณ์จริงหรือสร้างสถานการณ์ให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงแล้วให้ผู้เรียนอยู่ในสถานการณ์นั้นพร้อมทั้งแสดงพฤติกรรมเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ วิธีนี้จะช่วยให้ผู้เรียนฝึกทักษะการแสดงพฤตอกรรมต่าง ๆ ซึ่งในสถานการณ์จริงผู้เรียนอาจจะไม่กล้าแสดงออก

5. กรณีตัวอย่าง เป็นวิธีการสอนที่ใช้การสอนเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขั้นจริง แต่นำมาดัดแปลงเพื่อให้ผู้เรียนใช้เป็นแนวทางในการศึกษาวิเคราะห์และอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอันจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจและฝึกทักษะการแก้ปัญหา การรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกันซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ที่มีความหมายสำหรับผู้เรียนยิ่งขึ้น

6. การแสดงละคร เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทตามบทที่มีผู้เขียนหรือกำหนดไว้ให้ โดยผู้แสดงจะต้องแสดงบทบาทตามที่กำหนดโดยไม่นำเอาบุคลิกภาพและความรู้สึกนึกคิดเข้ามาใส่ในการแสดงบทบาทนั้น ๆ วิธีนี้จะช่วยให้มีประสบการณ์ในการรับรู้เหตุผล ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของผู้อื่นซึ่งจะช่วยฝึกทักษะการทำงานร่วมกันและรับผิดชอบร่วมกัน

7. เป็นวิธีการสอนโดยการจัดผู้เรียนเป็นกลุ่มย่อยที่มีสมาชิกประมาณ 6 -12 คน และมีกากำหนดให้มีผู้นำกลุ่มทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย สมาชิกทุกคนมีสวนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแล้วสรุปหรือประมวลสาระที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน วิธีการนี้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการเสนอข้อมูลหรือประสบการณ์ของตนเองเพื่อให้กลุ่มได้ข้อมูลมากขึ้น

วิธีการสอนที่สนับสนุนหลักการสอนแบบกระบวนการกลุ่มเหล่านี้ เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้การจัดประสบการณ์การสอนที่หลากหลายแลผู้สอนอาจใช้วิธีสอนอื่น ๆ ได้อีก โดยยึดหลักสำคัญ คือ การเลือกใช้วิธีการสอนที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ของการสอนแต่ละครั้ง

8. การประเมินผลการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม   (ทิศนา แขมมณี และคณะ 2522) มีดังนี้

1. การให้ผู้เรียนประเมินผลการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งผู้สอนควรสนับสนุน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสประเมินผลการเรียนรู้ของตนเองจะช่วยให้การเรียนรู้มีความหมายและมีประโยชน์ต่อผู้เรียนยิ่งขึ้น

2. การให้ผู้เรียนร่วมประเมินผลการเรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน ซึ่งสามารถประเมินผลได้ 2 ลักษณะ คือ

1. การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกลุ่ม

2. การประเมินผลความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม

9. บทบาทของครูและนักเรียนในการสอนแบบกระบวนการกลุ่ม

       บทบาทครู (คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงาน 2540) มีดังนี้

1.มีความเป้ฯกันเอง มีความเห็นอกเห็นใจนักเรียน สร้างบรรยากาศที่ดีต่อการเรียน สนใจ ให้กำลังใจ สนทนา ไถ่ถาม

2.พูดน้อย และจะเป็นเพียง ผู้ประสานงาน แนะนำ ช่วยเหลือเมือนักเรียนต้องการเท่านั้น

3.ไม่ชี้นำหรือโน้มน้าวความคิดของนักเรียน

4.สนับสนุน ให้กำลังใจ กระตุ้นให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในการทำงานแสดงออกอย่างอิสระ และแสดงออกซึ่งความสามารถของนักเรียนแต่ละคน

5.สนับสนุนให้นักเรียนสมารถวิเคราะห์ สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผลการกระทำงานให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้

https://www.gotoknow.org/posts/5520. ได้กล่าวว่าวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม ปรีชา เศรษฐีธรได้ให้ความหมายของการสอนแบบแบ่งทำกิจกรรมไว้ว่า การสอนแบบนี้จะครูจะเป็นผู้แนะแนวในการทำงานร่วมกันของเด็กนักเรียนในกลุ่ม ในการทำงานร่มกันเป็นกลุ่มนั้น เด็กแต่ละคนจะมีหน้าที่แตกต่างกันไปคือ ทุกคนได้นำความสามารถมาใช้เต็มที่ในการทำงาน

ความมุ่งหมาย

1.เพื่อฝึกทักษะการค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่างๆ

2.เพื่อฝึกการทำงานร่มกับผู้อื่นจนเกิดทักษะกระบวนการกลุ่มสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ในชีวิตได้

3.เพื่อฝึกคุณลักษณะของผู้เรียน เช่นความรับผิดชอบในการทำงาน

4.เพื่อฝึกทักษะการพูด  การคิด การเขียนรายงาน  วิเคราะห์ สรุป

5.เพื่อความกล้าในการแสดงออก

ขั้นตอนการสอนฤติกรรมการสอนวิชาคอมพิวเตอร์

ขั้นตอนการสอนฤติกรรมการสอนวิชาคอมพิวเตอร์

1. ขั้นเตรียม เป็นขั้นที่ผู้สอนจัดเตรียมวางแผนการสอน โดยเตรียมหัวข้องานที่จะมอบหมายให้ทำเป็นกลุ่ม กำหนดจุดมุ่งหมาย เวลา วิธีการ ตลอดจนเตรียมสื่อการสอนและเอกสารที่ต้องใช้ในการสอน

2. ขั้นดำเนินการสอน ประกอบด้วย

2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน เป็นขั้นจูงความสนใจของผู้เรียนเข้าสู่บทเรียน ให้ผู้เรียนเกิดความพร้อมที่จะเรียนรู้ อาจใช้วีทบทวนความรู้เดิม สนทนา ซักถาม อภิปรายนำเรื่อง ฯลฯ นอกจากนี้ ผู้สอนควรได้แจ้งจุดประสงค์การสอน แจ้งขั้นตอนการทำกิจกรรม กำหนดเวลา และข้อตกลงอื่นๆ ให้ผู้เรียนเข้าใจตรงกันก่อนเข้ากลุ่มทำกิจกรรม

2.2 ขั้นสอน มีลำดับดังนี้

– แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มตามจำนวนที่เหมาะสม ให้ใช้วิธีการแบ่งกลุ่มที่น่าสนใจ

– ให้แต่ละกลุ่มเลือกประธาน เลขานุการ

– แจกเอกสาร บัตรคำถาม หรือสื่อการเรียนที่กลุ่มจำเป็นต้องใช้ในการทำกิจกรรมกลุ่ม

– ให้กลุ่มทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายภายในเวลาที่กำหนด

– ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลงานของกลุ่มตามที่ผู้สอนกำหนด

2.3 ขั้นสรุป

– ให้ผู้เรียนอภิปรายร่วมกันเพื่อสรุปความสำคัญจากการรายงานของแต่ละกลุ่มและผู้สอนให้ข้อเสนอแนะพร้อมแนวคิดในการประยุกต์ใช้

3. ขั้นประเมินผล เป็นขั้นที่ผู้สอนประเมินผลการทำงานกลุ่มมากน้อยเพียงใด ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจในบทเรียน เกิดเจตคติและทักษะในหารทำงานกลุ่มมากน้อยเพียงใด บรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่ ผู้สอนควรได้ประเมินพฤติกรรมของผู้เรียนในด้านต่างๆ ด้วย เช่น ความกระตือรือร้นในการแบ่งกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ความร่วมมือ ความรับผิดชอบ ความสนใจ ความกล้าแสดงออก ลักษณะการเป็นผู้นำ ผู้ตามที่ดี ฯลฯ เป็นต้น

ข้อดีและข้อจำกัดของวิธีการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

ข้อดี

1.ผู้เรียนได้ฝึกการหาข้อมุลจากแหล่งต่างๆด้วยการฝึกการเขียนการอ่านและการค้นคว้า

2.ผู้เรียนได้ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม ฝึกความคิด ฝึกหน้าที่ในการทำงาน และการช่วยเหลือกันในกลุ่มเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตนำไปปฏิบัติ ในอนาคต

3.ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความสามารถและความถนัดในด้านต่างๆ

4.ผู้เรียน เรียนด้วยความกระตือรื้อร้น(Active Learning)เพราะได้ลงมือปฏิบัติตลอดเวลา

5.การทำงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเพราะผุ้เรียนได้มีเวลาอันจำกัดและได้ช่วยกันคิดช่วยกันทำพึ่งพาอาศัยกัน

ข้อจำกัด

ถ้าผู้สอนไม่เตรียมการสอน ไม่เตรียมสื่อการเรียนการสอนไม่เตรียมงานมอบหมายอย่างกระจ่างชัดเจน ความสำเร็จของการสอนก้อจะไม่บรรลุเป้าหมาย

สรุป
          จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่ากระบวนการกลุ่มเป็นวิทยาการที่ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มคนเพื่อนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนเจตคติและพฤติกรรมของคน ซึ่งจะนำไปสู่การเสริมสร้างความสัมพันธ์และการพัฒนาการทำงานของกลุ่มคนให้มีประสิทธิภาพ



แผนการจัดการเรียนรู้ที่  1
รายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน  รหัสวิชา  ค 21101                                    ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1
หน่วยการเรียนรู้ที่  2  ระบบจำนวนเต็ม                                                 เวลาเรียน  24  ชั่วโมง
เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม                                                                           เวลาเรียน  1  ชั่วโมง
ผู้จัดกิจกรรม  นางสาวมนทิยา  ลีประโคน            สอนวันที่   7   เดือน  มิถุนายน   พ.ศ.  2554   
*****************************************************************************
1.  มาตรฐานการเรียนรู้ / ตัวชี้วัด
มาตรฐานการเรียนรู้  ค 1.1  เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและ
การใช้จำนวนในชีวิตจริง
มาตรฐานการเรียนรู้  ค 6.1  มีความสามารถในการแก้ปัญหา  การให้เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์  และการนำเสนอ  การเชื่อมโยง  ความรู้ต่าง ๆ 
ทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์  อื่น ๆ  และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด
ค 1.1  ม.1/1  ระบุหรือยกตัวอย่าง  และเปรียบเทียบจำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ 
ศูนย์  เศษส่วน  และทศนิยม
6.1  ม.1-3/1  ใช้วิธีการที่หลากหลายแก้ปัญหา 
6.1  ม.1-3/2  ใช้ความรู้  ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  และเทคโนโลยี
ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ  ได้อย่างเหมาะสม 
6.1  ม.1-3/3  ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ และสรุปผลได้อย่างเหมาะสม 
6.1  ม.1-3/4  ใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย   และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องชัดเจน 
6.1  ม.1-3/5  เชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ  ในคณิตศาสตร์  และนำความรู้  หลักการ  กระบวนการทางคณิตศาสตร์ไปเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ 
6.1  ม.1-3/6  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 


2.  สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด
จำนวนเต็มประกอบด้วย  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  และศูนย์ (0
จำนวนเต็มบวก  ได้แก่  123
จำนวนเต็มลบ  ได้แก่  -1,  -2,  -3,  …
ศูนย์  ได้แก่  0
แสดงจำนวนเต็มทั้งหมดโดยใช้เส้นจำนวน  ดังนี้
                 





3.  จุดประสงค์การเรียนรู้  เมื่อเรียนจบเรื่องนี้แล้ว  นักเรียนสามารถ
3.1  ความรู้  (K)
1)  บอกเหตุผลในการระบุจานวนเต็มบวก จานวนเต็มลบและศูนย์ได้
2)  ระบุจำนวนเต็มบวก  ลบ  และศูนย์  ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดได้
3.2  ทักษะ/กระบวนการ  (P)
1)  การแก้ปัญหา
2)  การให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ 
3)  การใช้ภาษาและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ในการสื่อสาร  การสื่อความหมาย  และการนำเสนอได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
4)  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ  ในคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่นๆ
3.3  คุณลักษณะ  (A)
1)  ทำงานอย่างเป็นระบบ
2)  มีระเบียบวินัย
3)  มีความรับผิดชอบ
4)  มีวิจารณญาณ
5)  มีความเชื่อมั่นในตนเอง
6)  มีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์

3.  สาระการเรียนรู้
3.1  สาระการเรียนรู้แกนกลาง
1)  จำนวนเต็ม  ประกอบด้วยจำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  ศูนย์
2)  จำนวนเต็มบวก  เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าจำนวนนับหรือจำนวนธรรมชาติ 
3)  จำนวนเต็มลบ  มีค่ามากที่สุดคือ  -แต่ไม่มีจำนวนเต็มลบใดที่มีค่าน้อยที่สุด
4)  ศูนย์  เป็นจำนวนเต็มที่ไม่เป็นทั้งจำนวนเต็มบวกและจำนวนเต็มลบ
5)  จำนวนเต็มที่อยู่ทางด้านขวาของ  0  เป็นจำนวนเต็มบวก  จำนวนที่อยู่ด้านซ้ายของ  0  เป็นจำนวนเต็มลบ
3.2  สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

4.  สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
4.1  ความสามารถในการสื่อสาร
4.2  ความสามารถในการคิด
4.3  ความสามารถในการแก้ปัญหา

5.  คุณลักษณะอันพึงประสงค์
5.1  ซื่อสัตย์สุจริต
5.2  มีวินัย
5.3  ใฝ่เรียนรู้
5.4  มุ่งมั่นในการทำงาน

6.  ชิ้นงาน/ภาระงาน
6.1  แบบฝึกทักษะเล่มที่ 1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่ 1.1
6.2  แบบฝึกทักษะเล่มที่ 1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่ 1.2
6.3  แบบฝึกหัดในหนังสือสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์พื้นฐาน  คณิตศาสตร์ 
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เล่ม 1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม

7.  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ขั้นที่  การนำเสนอบทเรียนต่อทั้งชั้น
1.1  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
1)  ครูแจ้งหัวข้อเรื่องที่จะเรียน  จุดประสงค์การเรียนรู้  ให้นักเรียนทราบ
2)  ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและข้อตกลงร่วมกันในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ  เทคนิค  STAD  ซึ่งมีวิธีการ  ดังนี้
3)  แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น  กลุ่ม ๆ  ละ  4  คน  โดยแต่ละกลุ่ม  จะมีนักเรียนเก่ง  คน  ปานกลาง  คน  และอ่อน  คน
4)  อธิบายหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม  พร้อมทั้งกติกาการทำงานร่วมกัน  ดังนี้
1.  นักเรียนต้องทำงานร่วมกัน
2.  นักเรียนต้องช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
3.  ผลงานของกลุ่ม  หมายถึง  ผลงานของทุกคน
4.  เมื่อครูเรียกสมาชิกคนใดคนหนึ่งในกลุ่มอธิบายการหาคำตอบ  สมาชิกคนนั้นจะต้องอธิบายหาคำตอบนั้นได้
5.  การทดสอบย่อย  ชุดที่  ประจำเนื้อหา  นักเรียนจะต้องทำด้วยความสามารถของตนเองไม่อนุญาตให้ช่วยเหลือกัน
6.  ครูแจ้งผลการทดสอบประจำเนื้อหา
1.2  ขั้นสอน
1)  ครูติดแผนภาพเส้นแสดงจำนวนที่นับเพิ่มจาก  1  ไปทางขวาทีละ  1  หน่วยสนทนาพูดคุย  และให้นักเรียนยกตัวอย่างจำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  และจำนวนที่ไม่ใช่
จำนวนเต็ม  เช่น  
จำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0,  1,  2,  3,  ...
จำนวนที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0.1,  0.5,  0.89 ...
2)  นักเรียนช่วยกันอภิปรายถึงจำนวนเต็มที่นักเรียนรู้จักว่า  มีกี่ประเภท  อะไรบ้าง  และร่วมกันอภิปรายตามหัวข้อต่อไปนี้
จำนวนนับที่น้อยที่สุดคือจำนวนใด  (1)
-  0  เป็นจำนวนนับหรือไม่เพราะเหตุใด
จำนวนที่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0,  1,  2,  3,  …
-  จำนวนที่ไม่เป็นจำนวนเต็ม  คือ  0.1,  0.5,  0.89,  
-  การนับเพิ่มทีละ  ต่อไปเรื่อย ๆ  จะได้จำนวนนับอื่น ๆ  เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  
ไม่มีที่สิ้นสุด  ดังนี้   1 + 1  แทนด้วย  2
2 + 1  แทนด้วย  3
3 + 1  แทนด้วย  4  ฯลฯ 
ขั้นสรุป
ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปว่า  จำนวนเต็ม  ประกอบด้วย  จำนวนเต็มบวก  จำนวนเต็มลบ  และศูนย์  
จำนวนเต็มบวก  ได้แก่  1,  2,  3,  4,  5,  …
จำนวนเต็มลบ  ได้แก่  -1,  -2,  -3,  -4,  -5,  …
ศูนย์  ได้แก่  0
ขั้นที่  ขั้นศึกษากลุ่มย่อย
2.1  ให้นักเรียนเข้ากลุ่มที่จัดไว้กลุ่มละ  คน  คละความสามารถทางการเรียนโดยมี  กลุ่มเก่ง  กลุ่มปานกลาง  กลุ่มอ่อน  แต่ละกลุ่มศึกษารายละเอียดของเนื้อหาและวิธีการตามแบบฝึกทักษะชุดที่ 
2.2  ให้แต่ละกลุ่มทำกิจกรรมให้ได้ตามเวลาที่กำหนดและให้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในกลุ่ม  สมาชิกในกลุ่มสามารถตอบคำถามและอธิบายคำตอบได้ทุกคำตอบตามแบบฝึกทักษะ 
2.3  สมาชิกในกลุ่มแสดงความคิดเห็นและตกลงร่วมกันในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจเพิ่มขึ้น
2.4  ให้นักเรียนบันทึกลงในแบบฝึกทักษะ  หากสมาชิกภายในกลุ่มไม่เข้าใจ  คนที่เข้าใจช่วยอธิบายให้เพื่อนเข้าใจแล้วนำเสนอผลงานและเสนอแนวความคิดต่อกลุ่ม  เพื่อพิจารณาร่วมกันหาคำตอบที่ถูกต้องและเหมาะสม  ช่วยกันเพิ่มเติมให้สมบูรณ์
2.5  ครูคอยสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม  พร้อมทั้งคอยให้ข้อเสนอแนะ  ตอบข้อคำถามของนักเรียน  หากมีข้อบกพร่องครูเป็นผู้ช่วยชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง
2.6  ครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยแบบฝึกทักษะเล่มที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่  1.1  และเฉลยแบบฝึกทักษะเล่มที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  ชุดที่  1.2  ครูอธิบายเพิ่มเติมส่วนที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ
ขั้นที่  ขั้นการทดสอบย่อย
3.1  ครูชี้แจงให้นักเรียนทราบว่าการทำแบบทดสอบย่อย  ชุดที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  นักเรียนต้องทำเป็นรายบุคคล  ไม่ให้ช่วยเหลือกันทำตามเวลาที่กำหนด
3.2  ครูตรวจแบบทดสอบย่อย  ชุดที่  1  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม  โดยถ้าตอบถูกให้ข้อละ  คะแนน  และตอบผิดให้  คะแนน
ขั้นที่  ขั้นการคิดคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคน / กลุ่มย่อย
4.1  ครูนำคะแนนผลการทดสอบมาคิดเป็นคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคน  และของกลุ่มโดยคะแนนความก้าวหน้าของแต่ละคนคิดได้จากนำคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนประจำเนื้อหาของแต่ละคนคิดเป็นร้อยละคะแนนความก้าวหน้า
4.2  คะแนนความก้าวหน้าของกลุ่มคิดได้จากผลรวมของคะแนนการพัฒนาของแต่ละคนในกลุ่มแล้วหารด้วยจำนวนคนในกลุ่ม  คะแนนที่ได้เป็นคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มซึ่งถือเป็นคะแนนความก้าวหน้าของกลุ่ม
ขั้นที่  ขั้นรับรองผลงานกลุ่มที่ได้รับการยกย่องหรือยอมรับ
ครูประกาศคะแนนของแต่ละกลุ่มและยกย่องชมเชย 

8.  สื่อ/ นวัตกรรม และแหล่งการเรียนรู้
8.1  สื่อ/ นวัตกรรม
1)  แบบฝึกทักษะเล่มที่  เรื่อง  ระบบจำนวนเต็ม
2)  แผนภาพที่  1.1  เส้นจำนวนที่นับเพิ่มจาก  1  ไปทางขวาครั้งละหน่วย
3)  แผนภาพที่  1.2  เส้นจำนวนแสดงจำนวนเต็มลบ  ศูนย์  และจำนวนเต็มบวก
4)  หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน  คณิตศาสตร์  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เล่ม 1
8.2  แหล่งการเรียนรู้
1ห้องสมุดโรงเรียน 
2)  อินเทอร์เน็ต 


ที่มา          : https://seehttpsmalanonech.wordpress.com/2013/01/16/%E0%B8%97%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%8E%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1-group-process/. "ออนไลน์"เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.
       : https://yupawanthowmuang.wordpress.com/about/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%98%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1/. "ออนไลน์"เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.
       : https://www.gotoknow.org/posts/5520. "ออนไลน์"เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2561.

No comments:

Post a Comment

นวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์

http://kamonwan2259.blogspot.com/2015/08/blog-post.html   ได้กล่าวเกี่ยวกับนวัตกรรมทางการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้           นวัตกรรมและเทคโ...